ณ ประเทศอังกฤษ
         เมื่อเสด็จถึงประเทศอังกฤษแล้ว ทรงมีที่ประทับถาวรแห่งแรกอยู่ ณ ตำบล
แฟร์ฮิลล์ แคว้นแคมเบอร์ลีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหา
กรุณาแนะนำว่าเป็นสถานที่ร่มรื่น อากาศดี เหมาะแก่การฟื้นฟูพระพลานามัย
         พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ทรงจัดการศึกษาของพระธิดาโดยจัดหาพระอาจารย์
มาถวายพระอักษรภาษาอังกฤษและเปียโนต่อจากที่พระธิดาได้ทรงศึกษามาแล้ว
ในกรุงเทพมหานคร ส่วนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ทรงเรียนภาษาอังกฤษ กระทั่ง
ทรงสามารถอ่าน เขียน และรับสั่งได้ดีมาก
         ขณะประทับในประเทศอังกฤษย่างเข้าปีที่สอง ได้เริ่มเกิดความไม่สงบ
ขึ้นในยุโรปบางประเทศ จนกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศอังกฤษ
ถูกกองทัพอากาศเยอรมันโจมตีอย่างรุนแรงทั้งสองพระองค์ต้องทรงย้ายที่
ประทับหลายแห่ง ทรงประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดจน
ด้านการเงิน แต่กระนั้นพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ก็ยังทรงบำเพ็ญประโยชน์แก
่ส่วนรวม เช่น ทรงช่วยเหลือกิจการสภากาชาดอังกฤษทรงม้วนผ้าพันแผล
และถักเครื่องกันหนาวประทานแก่ทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยรบ เป็นต้น
กระทั่งสภากาชาดอังกฤษได้ขอประทานถวายเกียรติบัตรประกาศพระกิตติคุณ
         พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ต้องทรงประสบกับความยากลำบากนานาประการ
โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจฝืดเคืองอันเนื่องมาจากภาวะสงคราม และรัฐบาลไทย
ในสมัยนั้นไม่อาจจัดสรรเงินถวายสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ อีกทั้งการจัดส่ง
เงินส่วนพระองค์ไปถวายก็ทำได้ด้วยความยากลำบากและไม่สม่ำเสมอ จึงทรง
ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งทรงลงมือทำงานบ้านเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการ
จ้างข้าหลวงชาวต่างประเทศ แต่กระนั้นก็ทรงพระอุตสาหะศึกษาหนทางที่
จะหารายได้มาจุนเจือจนทรงผ่านพ้นวิกฤตการณ์เหล่านั้นมาได้ด้วยดี แม้ในระยะ
หลังเมื่อเหตุการณ์ผันผวนต่างๆ เข้าสู่สภาวะปรกติแล้ว เงินรายได้จากทรัพย์สิน
ส่วนพระองค์ที่จัดส่งไปถวายจากประเทศไทยคงมีพอเพียงแค่เป็นค่าใช้จ่าย
ประจำในการดำรงพระชนมชีพเท่านั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ข้าราชบริพาร
ใกล้ชิดว่ารายจ่ายส่วนใหญ่ที่ทรงใช้จ่ายสำหรับผดุงพระเกียรติยศให้ดำรงอยู่
ได้อย่างสมพระเกียรตินั้นล้วนเป็นเงินที่ทรงได้มาจากการบริหารจัดการด้วย
พระองค์เองทั้งสิ้น ทั้งนี้ด้วยทรงเรียนรู้วิธีการซื้อขายหุ้นตลอดจนการทำ
ธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จากพระสหายชาวอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว
และทรงดำเนินการดังกล่าวได้อย่างชำนาญจนเป็นที่กล่าวขวัญกันว่าทรงเป็น
สตรีไทยรายแรกๆ ในยุคนั้นที่เข้าใจและมีทักษะด้านการบริหารการเงินและ
การจัดการทรัพย์สินได้เป็นอย่างดี และทุนทรัพย์ที่ทรงสะสมไว้นี้ ก็ได้ยัง
ประโยชน์อำนวยความผาสุกแก่พระธิดามาจวบจนปัจจุบัน
         ตลอดระยะเวลา ๒๒ ปีที่ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ พระนางเจ้าสุวัทนา
พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ได้ทรงรักษาพระเกียรติยศแห่งราชนารีใน
พระบรมราชจักรีวงศ์ได้อย่างมั่นคง ข้าในพระองค์ที่ตามเสด็จไปจากประเทศไทย
หรือผู้มีหน้าที่รับใช้อยู่บนตำหนักไม่ว่าจะเป็นที่ตำหนักแฟร์ฮิลล์ ตำหนักไบรตัน
หรือตำหนักไดก์โรด ล้วนเป็นสตรี ทั้งสิ้น
         พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ได้ทรงอบรมพระธิดาให้มีพระอุปนิสัยอ่อนโยน
มีพระเมตตาธรรม พระขันติธรรม มิให้ทรงลืมความเป็นไทยได้ทรงนำ
เสด็จสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี เป็นประจำ อีกทั้งทรงอบรมพระธิดาให้ทรงมีความละเอียด
ถี่ถ้วน ทรงประหยัดทั้งเงินและเวลาไม่ให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
         ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีพระกรุณาต่อข้าราชการ และนักเรียนไทยในประเทศ
อังกฤษ โดยได้ประทานพระวโรกาสให้เฝ้ารับประทานเลี้ยง ตลอดจนทรง
จัดงานสังสรรค์ ณ ตำหนักที่ประทับในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น วันคล้าย
วันประสูติของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ วันคริสต์มาส เป็นต้น อนึ่งในการ
ประทานเลี้ยงแต่ละครั้ง พระนางเจ้าสุวัทนาฯ จะทรงประกอบอาหารด้วย
พระองค์เอง โดยเฉพาะอาหารฝรั่งทั้งคาวและหวานเป็นที่เลื่องลือว่า
อาหารโดยฝีพระหัตถ์นั้นเอร็ดอร่อยยิ่งนักเมื่อทรงทำขนมเค้กก็โปรดที่จะ
ทรงแต่งหน้าเค้กอย่างประณีตงดงามด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ ชาวไทยใน
ประเทศอังกฤษในสมัยนั้นได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดให้เข้าร่วมงานประทาน
เลี้ยงอยู่เนืองๆ ยังความปลาบปลื้ม อบอุ่นใจ เป็นที่กล่าวขานถึงพระกรุณา
ข้อนี้อยู่มิรู้ลืม
         สงครามกินเวลาเกือบ ๕ ปี จึงยุติลง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับประเทศไทยเพื่อประดิษฐานไว้ ณที่อันควรแก่
พระบรมราชอิสริยยศร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าบน
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตามที่รัฐบาลไทยขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็ทรงราชาภิเษกสมรส
และผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กอปรกับพระพลานามัยของ
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ก็พัฒนาดีขึ้นจนคงที่แล้วในพุทธศักราช ๒๔๙๓
พระนางเจ้าสุวัทนาฯ จึงทรงตัดสินพระทัยว่าควรเสด็จกลับมาประทับ
ในประเทศไทย เพื่อฉลองพระเดชพระคุณและทำประโยชน์แก่ปวงชน
ชาวไทย ดังนั้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๐ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
ในรัชกาลที่ ๖ จึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกนับจากที่เสด็จ
ไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษนานร่วมสองทศทวรรษ